พื้นฐานระบบไฟฟ้า รถยนต์ที่ควรรู้

ระบบไฟฟ้า

การจะมีรถยนต์สักคันนึง กว่าจะซื้อก็คิดแล้วคิดอีก เพราะราคาของมันค่อนข้างสูง กว่าจะตัดสินใจซื้อได้ ก็มีค่าใช้จ่ายมากมาย ดังนั้นเมื่อได้เป็นเจ้าของแล้วก็ย่อมที่จะหวงแหนคอยดูแลรักษาให้รถอยู่คู่ใจกับเราไปนาน ๆ ซึ่งการดูแลรักษารถยนต์นั้นมีหลาย ๆ ส่วนที่เราต้องใส่ใจ ทั้งเรื่องภายในและภายนอกรวมไปถึงเรื่องของ ระบบไฟฟ้า ภายในต่าง ๆ ในตัวรถ

1. ไดชาร์จ (Alternator) ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของรถยนต์ จะทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้า โดยอาศัยกำลังเครื่องยนต์ทำการส่งกำลังมาทางสายพานเพื่อให้ไดชาร์จหมุนปั่นกระแสไฟออกมาใช้ทำให้รถยนต์สามารถขับเคลื่อนได้ รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานที่นานแล้ว มักจะพบปัญหาไดชาร์จเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน เมื่อหมดอายุก็ต้องเปลี่ยนอันใหม่เพื่อให้ระบบไฟฟ้าทำงานต่อไปได้

วิธีสังเกตอาการเสื่อม เมื่อไดชาร์จมีปัญหา ระบบไฟทั้งหมดจะเริ่มอ่อนลง เช่น แอร์เริ่มไม่เย็น ไฟหน้ามีการพริบหรี่ หรือพบว่าความร้อนเพิ่มขึ้นเนื่องจากพัดลมหมุนไม่แรงพอ ระหว่างที่ไดชาร์จส่งสัญญาณอ่อนกำลัง จะยังสามารถวิ่งต่อได้อีกสักพักจนไฟหมดแล้วรถยนต์จะดับไป ช่วงที่เริ่มจับอาการได้ให้รีบประคองรถเข้าอู่เพื่อทำการซ่อมหรือเปลี่ยนโดยทันที

2. แบตเตอรี่ (Battery) ทำหน้าที่เก็บไฟสำรองเมื่อไดชาร์จปั่นกระแสไฟมา  เมื่อไฟเหลือใช้จากการปั่นไฟจะมาเก็บเอาไว้ที่แบตเตอรี่จนเต็ม เมื่อไดชาร์จผลิตกระแสไฟไม่ทันแบตเตอรี่จะออกมาจ่ายกระแสไฟทดแทนให้ รวมไปถึงตอนสตาร์ทเครื่องยนต์ที่จะมีการใช้ไฟกำลัง ระบบไฟฟ้าจึงต้องอาศัยกระแสไฟจากแบตเตอร์รี่มาหมุนไดสตาร์ทก่อน เพราะไดร์ชาร์จไม่สามารถปั่นไฟได้เพียงพอได้ในขฯนั้น เมื่อเครื่องยนต์ติด ระบบไฟฟ้าก็จะกลับเข้าสู่วงจรเดิม

การดูแลรักษาแบตเตอรี่ หมั่นเปิดฝากระโปรงรถคอยตรวจเช็ค คอยเติมน้ำกลั่นอยู่บ่อย ๆ เพราะการปล่อยให้น้ำกลั่นแห้งอยู่เป็นประจำจะส่งผลให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่สั้นลง ดังนั้นการคอยเติมน้ำกลั่นจะช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

3. โวลต์ (Voltage) คือค่าความต่างศักย์ของไฟฟ้าในรถยนต์ ซึ่งมีค่าอยู่ที่ 12V นั่นหมายความว่า อุปกรณ์ ระบบไฟฟ้า รถยนต์ในรถทั้งคัน จะต้องใช้ค่าความต่างศักย์ เท่ากับ 12V เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ระบบไฟฟ้าของเมืองไทย โดยปกติอยู่ที่ 220V ส่วนในต่างประเทศก็จะแตกต่างกันออกไป ที่ญี่ปุ่น จะใช้ไฟ 110V หากเรานำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีโวลต์น้อยกว่าไปใช้กับกระแสไฟโวลต์สูงกว่า ก็สามารถจะใช้เครื่องมือนั้นได้ แต่จะทำให้อุปกรณ์นั้นพังเร็ว สำหรับโวลต์ ในระบบไฟฟ้ารถยนต์ ปกติในการขับขี่ทั่วไป เข็มโวลต์จะต้องชี้อยู่ที่ 12-13V หากพบว่าตกลงเหลือ 11-10V นั่นหมายความว่าไฟเริ่มตกแล้ว แต่ยังพอใช้ได้ หากเร่งเครื่องแล้วโวลต์ขึ้น นั่นหมายความว่าไดชาร์จเริ่มเสื่อม ถ้าต่ำกว่า 10V นั่นคือ ไฟชาร์จไม่พอ ควรรีบเข้าอู่พบช่างเพื่อตรวจหรือซ่อม แต่หากพบว่าเข็มชี้เกินกว่า 14V หมายความว่าไฟชาร์จเกิน ระบบไฟฟ้ารถยนต์มีปัญหาหนักหนาตามมาแน่นอน เช่น น้ำกลั่นเดือด อุปกรณ์ไฟฟ้าร้อนจัดจนเกิดอาการช็อตหรือไหม้ ให้รีบพารถคู่ใจเข้าอู่ด่วนเลย

4. รีเลย์ (Relay) อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้ารถยนต์ทำหน้าที่เหมือนสวิตซ์ โดยควบคุมการทำงานด้วยสวิตซ์หรือตัวเซ็นเซอร์ จะทำงานเมื่อมีกระแสไฟไหลผ่านขดลวดลงกราวร์จะเกิดพลังแม่เหล็กดูดให้หน้าสัมผัสติดกัน โดยทำหน้าที่เพิ่มพื้นที่สายไฟให้กระแสไฟเดินได้สะดวกและผ่านไดจำนวนมากขึ้น ทำให้ระบบไฟฟ้าของรถยนต์ทำงานได้อย่างครบถ้วน หากมีการเพิ่มต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ให้เข้ากับตัวรถ แต่ไม่มีรีเลย์ต่อพ่วงจะเกิดอาการ Over load จากการที่พื้นที่สายไฟยังคลขนาดเท่าเดิมแต่กลับมีการดึงไฟฟ้ามาใช้งานมากกว่า ซึ่งจะทำให้สายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้านั้นร้อนจัดจนช็อตได้

การติดตั้งรีเลย์ ควรใช้รีเลย์ให้เหียงพอกับอุปกรณ์ไฟฟ้า และแยกรีเลย์ที่เชื่อมต่อให้เป็นกลุ่ม ๆ ไป เพื่อป้องกันระบบไฟฟ้าที่เสียหายพร้อมกัน หากต่อร่วมรีเลย์ร่วมกันเยอะ ๆ จะทำให้ทุกจุดเสียพร้อมกันและใช้งานไม่ได้ จากที่ควรเสียแค่จุดเดียว การเป็นพาจุดอื่นใช้งานไม่ได้ไปด้วย

ดังที่กล่าวมาข้างต้น ระบบไฟฟ้ารถยนต์เป็นส่วนสำคัญในการทำให้ระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น หมั่นตรวจเช็ค ดูแลระบบไฟฟ้ารถยนต์ของเราให้ดี เพื่อที่รถยนต์ของเราจะได้อยู่กับเรายาวนานขึ้นนะครับ

รู้ปัญหาที่แท้จริงของอาการเสีย ซ่อมได้ทุกอาการ เบนซ์วงศ์สว่าง ..ทางเลือก....ของคนฉลาดเลือก